สร้างรูปเรขาคณิตจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟัน


    รูปทรงเรขาคณิตสองมิติ (สามเหลี่ยม)


พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม


รูปทรงเรขาคณิตสองมิติ (สี่เหลี่ยมจตุรัส)


รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (สี่เหลี่ยมจตุรัส)


สื่อคณิตศาตร์จากถาดไข่ "วัดหนอนหรรษา"


Power Point Video นำเสนอสื่อวัดหนอนหรรษา




วิดีโอที่นำสื่อไปใช้กับเด็กและขั้นตอนในการเล่น



https://www.youtube.com/watch?v=thXb7PENYNk







บันทึกครั้งที่ 16 วันพุธ ที่ 28 เมษายน 2561

เนื้อหาที่เรียน
     นำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์จากถาดรองไข่ ของแต่ละกลุ่ม โดยนำสื่อไปใช้จริงโดยให้เด็กเล่นและสังเกตพฤติกรรม แล้วนำมานำเสนอ

กลุ่มของดิฉันนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ "วัดหนอนหรรษา"

บรรยากาศในห้องเรียน
  - ไม่เครียดสนุกสนาน

ประเมินวิธีการสอน
  - อาจารย์แนะนำถึงข้อที่ปรับปปรุงทำให้เราได้เห็นถึงข้อผิดพลาดของตนเอง

บันทึกครั้งที่ 15 วันพุธ ที่ 25  เมษายน 2561

เนื้อหาที่เรียน

💢นางสาวรัติยากร ศาลาฤทธิ์ (นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้ศิลปะสร้างสรรค์)
      เป็นการสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องของ ตำแหน่ง การนับ การจำแนก การรู้ค่าของจำนวน การเพิ่มลดจำนวน โดยให้เด็กออกไปสังเกตต้นไม้ สูงกว่าสั้นกว่า การนับจำนวนต้นไม้ หลังจากนั้นก็ร่วมกันสนทานาพูดคุย และครูให้เด็กวาดภาพระบายสีเกี่ยวกับต้นไม้ที่ไปสังเกต
รูปแบบการสอน
  1.กระตุ้นการเรียนรู้
  2.กรองสู้มโนทัศน์
  3.พัฒนาด้วยศิลปะ
  4.สาระการเรียนรู้

👉 การนำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตสาสตร์จากถาดรองไข่ (ของแต่ละกลุ่ม)👈


กลุ่มของดิฉันนำเสนอสื่อ"วัดหนอนหรรษา"
จากที่ได้ดูงานสื่อของเพื่อนๆกลุ่มอื่น ทำให้สามารถดึงตรงนี้ของเพื่อนไปใช้ได้ โดยอาจจะเปลี่ยนเป็นเศษวัสดุอื่นๆที่เรามีนำไปทำสื่องการสอนต่างๆได้เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายจากเศษวัสดุเหลือใช้


บรรยากาศในห้องเรียน
  • สนุกสนานไม่เครียด
ประเมินวิธีการสอน
  • อาจารย์สอนได้เข้าใจ และแนะนำสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น


👉บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่ 18 เมษายน 2561👈




เนื้อหาที่เรียน
       วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์จากถาดไข่เพื่อดูความคืบหน้าและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นและการทำสื่อด้วยถาดไข่เป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำสื่อให้เกิดประโยชน์เพื่อให้เด็กเห็นสื่อที่หลากหลายและเกิดความคิดสร้างสรรค์ว่าถาดไข่สามารถนำมาทำสื่อได้หลากหลายครูเป็นคนสำคัญที่จะคิดสื่อทำสื่อที่หลากหลายให้เด็กๆได้เรียนรู้

👉หลักการประเมิน
  • สังเกต
  • สนทนาพูดคุย
  • ดูจากผลงานเด็ก

👉เพลงคณิตศาสตร์

           อาจารย์นำเพลงคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเด็กหรือสิ่งต่างๆรอบตัวเป็นเพลงที่ช่วยในเรีื่องของคณิตศาสตร์ เช่น เพลงจัดแถว,หนึ่งปีมีสิบสองเดือน,สวัสดียามเช้า


😊บรรยากาศในห้องเรียน
  • สนุกสนานไม่เครียด
😊ประเมินวิธีการสอน
  • อาจารย์สอนและอธิบายได้เข้าใจ




บันทึกครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2561

เนื้อหาที่เรียน



👉 นางสาวสุจิณณา พาพันธ์ นำเสนอวิจัย "เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นรากฐานเพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์"
         - สอนหน่วยเงิน โดยใช้กล่องใส่เหรียญเงินและเขย่าให้เด็กๆทาย และบอกลักษณะของเงิน และสอนเรื่องการรู้จักใช้เงินและจัดการขายของภายในโรงเรียน

กิจกรรมที่ 1 สังเกตลูกแก้ว
                    - อาจารย์ให้สังเกตลูกแล้วที่อยู่ภายในกล่อง โดยส่งต่อไปเรื่อยๆให้คาดคะเนว่ามีลูกแก้วอยู่ที่ลูก การสอนแบบนี้นำมาสอนในเรื่องของความน่าจะเป็น



💢 จำนวนและการดำเนินการ 
       - นับจำนวนและแทนค่าด้วยเลขฮินดูอาราบิก
       - คอนเซปของการนับเพิ่ม มีอยู่ 1 เพิ่มขึ้นเป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 3 ....

💢 พีชคณิต คือ เรื่องของความสัมพันธ์
        - เช่นหน่วยไข่ ตั้งโจทย์ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ไก่
                                              ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ไก่
           จะต้องมีแบบอย่างน้อย 2 แบบให้เด็กได้สังเกตว่ามันเป็นไปตามแบบ

บรรยากาศในห้องเรียน
   - สนุกสนานไม่เครียด

ประเมินวิธีการสอน
   - อาจารย์อธิบายได้เข้าใจ และเห็นภาพ
บันทึกครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 28 มีนาคม 2561

เนื้อหาที่เรียน



          👉 นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ นำเสนอบทความเรื่อง "สอนคณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว"
1.สอนเรื่องตัวเลข เช่น นาฬิกา ทะเบียนรถ ปฏิทิน วันเกิด อายุ
2.เรื่องรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรงของรถยนต์ 
3.กลางวัน-กลางคืน เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน
4.วัน/เดือน/ปี เช่น เทศกาล วันเกิด วันไปโรงเรียน วันหยุดต่างๆ
5.การเพิ่ม-ลด เช่น เพิ่มข้าว
 6.การใช้เงิน เช่นไปตลาด แม่มีเงินให้20 ให้ลูกลองใช้จ่ายเงินที่แม่มีให้



   👉 นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ นำเสนอบทความเรื่อง "สอนลูกเรื่องจำนวน การนับและตัวเลข"            
 1.จัดบรรยากาศของบ้านให้มีตัวเลขให้เห็น เช่น ให้ลูกฝึกอ่านพร้อมบอกชื่อตัวเลขของนาฬิกา
 2.เล่นนับอวัยวะ เช่น ตามีกี่มา หูมีกี่หู 
 3.เล่านิทานที่มีเรื่องจำนวน ตัวเลข เช่น เรื่องลูกหมู 3 ตัว ให้ลูกนับจับนวนของลูกหมู 


    👉 อาจารย์ให้คิดสื่่อคณิตศาสตร์โดยใช้รังไข่ จับคู่สองคน


กลุ่มของดิฉันทำเป็นตัวหนอนโดยทำเรื่องการวัด


บรรยากาศในห้องเรียน
   - สนุกสนาน เรียนไม่ตึงเครียด

ประเมินวิธีการสอน
    - อาจารย์คอยแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง และหาคำถามให้เราคิดตามเสมอเป็นการกระตุ้นในการเรียนได้ดี






สร้างรูปเรขาคณิตจากดินนำ้มันและไม้จิ้มฟัน      รูปทรงเรขาคณิตสองมิติ (สามเหลี่ยม) พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม รูปทรงเรขาคณิ...